สตู

เดือนก่อนครับผมลอง “ฝึกไป Starbucks” ดู พอไปทีนึงแล้วติดใจรู้สึก productive ดีก็เลยไปสลับกับร้านเดิมเรื่อยๆ

สตู

เดือนก่อนครับผมลอง “ฝึกไป Starbucks” ดู พอไปทีนึงแล้วติดใจรู้สึก productive ดีก็เลยไปสลับกับร้านเดิมเรื่อยๆ

จนวันนึงพนักงานมานั่งประกบแนะนำชื่อกับสอนกินกาแฟ.. อันนี้มาจากทวีปไหนความเปรี้ยวขนาดไหน วิธีกินนะคะก่อนอื่น smell แล้วถึง slurp แถมเอาบราวนี่เต็มก้อนสูตรใหม่มาให้ฟรี หวัง convert ให้เรามาประจำแหงๆกับสงสัยเห็นผมไม่เคยสั่งขนม แล้วก็ถ้านั่งแต่บ่ายถึงค่ำนี่ได้ขนมฟรีชัวร์

จนวันที่ 20 เท่านั้นแหละครับ กด ATM เครื่องแม่งบอก เงินไม่พอ 555555555 ติดสตั๊นเลย 5000 แม่ให้ที่เคยเหลือหลายร้อยแม้ข้ามเดือน ถึงกับต้องกดสูตรโกงถอนออกมาจากบัญชีเงินเก็บ

ตอนนี้กลับมาร้านชาวดอยเหลือแก้วละ 35 บาทเพราะฝึกกินกาแฟดำได้แล้วกับเอาแก้วไปเองลดจาก 40 บาทได้อีก ผมก็เลยได้ไอเดียใหม่ว่าจะทำ #สตู ดูครับ ลองไปซื้อของมาทั้งหมดรวมประมาณ 100 บาท ทำอาหารก็ไม่ใช่ถูกๆแต่ว่า ถ้าไม่ไป Starbucks แค่ 2 วันติดเท่านั้นเราก็จะได้ #สตู มา 1 หม้อ (100–35 * 2 = 130) ทันที แม่เจ้า เทียบชาเขียวปั่นกับไอแพดอะไรนั่นหมดยุคแล้วครับยุคนี้มันต้อง #สตู จริงๆ

ทำไมต้อง #สตู ด้วย

คือมันง่ายกว่าที่คิดแล้วพลาดยากมากครับ กับมันเก็บไว้กินได้ประมาณ 4 มื้อเลย ซากผักมื้อสุดท้ายไว้ใส่ไข่ทำกับ mi goreng แห้งที่ห่อละเกือบ 20 บาทนั่นก็เวิคดีลองมาละ แล้วก็ต้องมีช่วงเคี่ยวไฟอ่อนแต่ห้ามลืมคน ก็เลยเหมาะจะเขียนโปรแกรมไปด้วยแล้วแวะไปคนไปด้วย คิดว่า #สตู นี่แหละอีก 1 สกิลที่โปรแกรมเมอร์ควรฝึกไว้ครับ ยังไงก็จะมาแชร์เทคนิคทำ #สตู ที่ค้นพบกันอีกทีตอนนี้ทำมารอบสองรอบ ได้อะไรหลายๆอย่างแล้ว ปล. ไปเซิจ royin มาแล้วไม่ต้องเติม ว์

ทำไมสตูถึงแดง

ตอนแรกผมไม่ได้นึกเลยนะว่าน้ำมันจะแดงตอนไหน ทำไงให้น้ำแดง ก็ถ้าตาม common sense คือมาจากมะเขือเทศ

แต่มะเขือเทศมันไม่ได้มีสีไหลออกมาได้ เราต้องบดด้วย ดังนั้นถ้าอยากมีชิ้นมะเขือเทศด้วยแล้วน้ำแดงด้วยหมายความว่าต้องใส่มะเขือเทศบด อันนี้เคยใส่ซอสแล้วมันโรงงานมาก แนะนำให้ซื้อมะเขือเทศเกินมา 15 บาทแล้วมาต้มแปปเดียวก็บี้เป็นมะเขือเทศเหมือนที่ขายในกระป๋องได้แล้ว เมล็ดไม่ต้องแคร์ก็ได้สุดท้ายไม่รู้สึกว่ามีเมล็ดในสตูอยู่ดี

แต่ครั้งหลังนี่ลองวิธีใหม่คือไปเจียวกับน้ำมันมะกอก ไม่น่าเชื่อว่าบดเละได้เร็วกว่าต้มเอาอีกครับแถมรสโคตรนัว แบบกินซอสเปล่าๆจนหมดได้เลย (ถ้วยขวา)

ไม่เหมือนอันที่ต้มน้ำเปล่ามาเทียบกันอันนั้นรสยังกับจิตรลดา อีกอย่างเจียวแล้วมันจะ caramelize ด้วยครับเอาให้ไหม้นิดๆก่อนบด ปล. น้ำมันมะกอกจริงๆควรเอาเวอร์ชั่นที่สีอ่อนกว่านี้นะครับถ้าแบบ virgin เหมาะกับกินดิบๆ (เช่นโรยสลัด) ถ้าใสๆกว่านี้ใช้โดนความร้อนได้ พอดีมีแค่นี้

การ brown เนื้อ

เรียนมาจาก

https://www.seriouseats.com/…/stew-science-the-best-way-to-…

คือสตูนี่ความที่ไม่เหมือนเนื้อต้มมะเขือเทศเปื่อยเฉยๆเพราะว่าวัตถุดิบต่างๆต้องเอาไป brown (ให้ maillard) ด้วยวิธีต่างๆก่อน เพราะหลังจมน้ำแล้วจะไม่มีทางไหม้ได้อีก ก็เลยเกิดคำถามว่าเอาไป brown ยังไงดี

เริ่มจากเนื้อก่อน หลายๆสูตรที่อ่านมา มีทั้งเอาไปทอดแบบสเต็ก (sear) เลยหรือเอาไปเข้าเตาอบก็ได้ครับ เราควรให้ brown เร็วสุดก่อนมันจะแห้ง (ให้ข้างในยังแดงๆยิ่งดี) สาเหตุที่ brown ช้าส่วนมากเพราะเนื้อไม่แห้งพอ แล้วพอพยายาม brown แล้วมันอบไอน้ำตัวเองด้วย เอาผ้าเช็ดๆเนื้อให้แห้งก่อนใส่ความร้อนก็ใช้ได้ครับ กับถ้าจะโรยเกลือต้องเอาไป brown ทันทีไม่ก็รอ 45 นาที เพราะเวลาอื่นระหว่างนั้นความชื้นจะถูกเกลือดูดออกมาโปะหน้า (เป็นแบบ ทางโน้นเข้มข้นกว่า น้ำเลยไปทางนั้น อะไรซักอย่างที่เคยเรียนวิทย์ พอไม่ isotonic แล้วน้ำมันเลยออกมาหาเกลือ)

ภาพแรก พลาด ข้างในแดงดีอยู่หรอกแต่นอกยังไม่ดำเท่าไหร่ คราวหลังต้องให้กระทะร้อนมากๆกว่านี้หรือใช้น้ำมันช่วยหน่อยให้อุณหภูมิสูงๆ sear ได้เร็วๆแบบ burst damage อันนี้ดันทำแค่ย่างกะทะร้อนเปล่าๆเลยไม่ค่อยสะใจ

ครั้งต่อมาลองหั่นแล้วไปอบแทน อบตั้ง 30 นาที มันก็ดำดีอยู่นะแต่เนื้อข้างในสุกจนเกือบแห้งหมดแล้ว (อันนี้ไปต้มเปื่อยทีหลังก็เอาคืนมาไม่ได้นะครับ) เขาบอกว่าถ้าอบทั้งชิ้นแล้วหั่นทีหลังดีกว่าแม้พื้นที่ผิวให้ดำจะลดแต่ความชุ่มชื้นจะกักอยู่มากกว่า แบบนั้นดีกว่า แล้วก็โอกาสข้างในแดงจะมีมากขึ้น แล้วก็อย่าลืมเอาน้ำอบที่ไหลออกมาไปใส่ในซุปด้วยนะครับของดี เป็นเกลือและเลือดปนกัน

แล้วก็อีกเทคนิคนึงคือเคลือบแป้ง (toss with flour) เพราะ maillard เกิดจากแป้งและโปรตีน เราเพิ่มแป้งเข้าไปตั้งแต่ตอนนี้เลยจะ brown ขึ้น แล้วกลายเป็นน้ำข้นทีหลังได้ดีด้วยเพราะเป็นแป้งที่ cook แล้ว จะได้ไม่มีรส starchy เหมือนละลายแป้งใส่ทีหลัง (ถ้าน้ำไม่เดือดนานพอรสแป้งจะไม่หาย) แต่สตูบางสูตรเขาก็กะให้ข้นด้วยมันฝรั่งล้วนๆหรือใช้ gelatin (แพง!) แทนแป้งนะครับจะได้รสไม่ดิบ เพราะงั้นแป้งโปะเนื้อนี้สามารถ backfire ได้ถ้าไม่ระวัง

  • Brown in batch : อย่าโลภมากแล้วทำทีเดียวเยอะๆ เพราะมันจะ steam แล้วไม่แห้งพอที่จะทำให้ดำ (น้ำออกมาจากเนื้อหลายชิ้นเยอะไปจนเป็นบ่อ)
  • Seal the juice ? : หลายๆเว็บบอก มีความเข้าใจผิดว่าการ sear เพื่อ seal the juice ให้เนื้อชุ่ม เขาว่าไม่เกี่ยว แต่ที่เกี่ยวคือการสร้างสารใหม่ที่พื้นผิว

Brown ผัก

เนื้อว่าไปแล้ว ผักละเอาไงดี

อันนี้นึงถึงสิ่งนึงคือ mirepoix ที่เป็นการเอา aromatics มาเจียวน้ำมัน ห้ามให้ดำห้ามให้ caramelize แต่ให้พอมีความหวานเกิดขึ้น ลองไปดูภาพนี้จะเห็นว่าแต่ละประเทศมี “ผักสามัญประจำบ้าน” แตกต่างกันไปนะครับ https://1m8t7f33dnra3sfk6v2rjurs-wpengine.netdna-ssl.com/…/…

กลับมาที่สตูอาจจะอยากให้ไหม้กว่า mirepoix หน่อย แต่ประเด็นคือเรารู้จากภาพนั้นแล้วว่าอะไรที่มี aroma บ้าง ถ้าไทยๆหน่อยเรามักจะเจียวกระเทียม แต่จะเห็นว่ามีประเทศที่เจียวแครอทกับน้ำมันด้วย ตอนแรกไม่เคยคิดว่าแครอทจะเป็น aromatics

ผลจากการตีความก็คือ กระเทียม แครอท หอมใหญ่ มา brown น่าจะดีครับ ส่วนมันฝรั่ง เห็ด (เห็ดเอาไปอบกับเนื้อก็น่าจะ ok) แล้วก็มะเขือเทศคิดว่าไม่ควรเอามาลงตอนขั้นตอนผัดผักให้หอมเพราะไม่มี aroma ให้น้ำมัน มันพาละลายออกมา ดีไม่ดีเอาไว้ใส่ท้ายๆหลังต้มจนเนื้อเปื่อยแล้วก็ได้เพื่อให้ได้มี bite ได้เคี้ยวอะไรบ้างไม่เละไปด้วยกันหมด เช่นหอมใหญ่ ถ้าใส่ขั้นนี้หมดพอเสร็จส่วนมากจะละลายหายหมดเลยเห็นเหลือแต่แครอทกับมันฝรั่ง

ส่วนน้ำมันที่เอามาเจียวใช้เนยก็ได้ ตอนใส่น้ำเปล่าเติมลงไปทีเจียวทั้งหมดแบบยังไม่มีมะเขือเทศนี้ น้ำแทบจะมีรสอูมามิๆเลยครับ (นี่ยังไม่ได้ใส่มะเขือเทศนะ รสนั้นควรจะมาจากมะเขือเทศเป็นหลัก ถ้าด้วยตัวสารเคมี) ใส่เนื้อเข้าไปจะได้เกลือที่ dry brining ทิ้งไว้อีก (จะพูดวันหลัง) สุดท้ายอาจจะแทบไม่ต้องปรุง

ขั้นนี้อาจจะดูเหมือนแครอทมันไม่สะทกสะท้านนะครับเพราะมันก็แข็งๆเหมือนเดิมไม่ได้นุ่มลงจะๆเหมือนหอมใหญ่ แต่พอต้มเสร็จหมดแล้วมากินนี่ ผมสัมผัสได้เลยว่ามันมี complexity มันผ่านศึก มันไม่ใช่แค่แครอทต้มจืด แต่เป็นแครอทที่ meaty มีรสไขมันที่รวมหัวหอมและกระเทียม infuse อยู่ข้างในไม่หายไปไหน ก็ว่าได้

Soup base

ตอนที่ brown หมดแล้วจะเติมน้ำนี่ไม่ใช่เอาน้ำเปล่ามานะครับให้เอาน้ำซุป ถ้าใครทำงานครีเอตมาหลายอย่าง เวลาเราไปดู tutorial กะจะลอกมันจะมีขั้นนึงที่ “โอ๊ะ!”

เช่นตอนวาดรูป ลงสีพื้นยังเฉยๆแต่ใส่เงาปุ้บแล้ว โอ๊ะ! กับตอนจะเสร็จพอใส่ gradient overlay ไปก็ โอ๊ะ อีกที หรือตอนทำผัดผงกะหรี่ ก็ดูโง่ๆจนกระทั่งใส่ไข่เข้าไปในผงกะหรี่แล้วมัน โอ๊ะ เขียนโปรแกรมเป็นชาติเกมก็ดูโง่ แต่พอใส่เสียงแล้วก็ โอ๊ะ เหมือนกัน คือมันจะมีขั้นที่ดูโกงก้าวกระโดดอยู่ในหลายๆงานสร้างสรรค์ สตูก็คือตอนใส่ซุปก้อนนี่แหละโกงดี จากน้ำโง่ๆกลายเป็นเทพเลย เป็นขั้นที่ถ้าเราดูวิดิโอตามแล้วต้องกดหยุดพร้อมกับอุทานว่าเดี๋ยวนะ! (ควรฝึก identify ขั้นที่ว่าของทุกๆอย่างครับ ป้องกันการท้อแท้ได้ว่าทำไมของเราดูโง่)

แต่โปรแกรมเมอร์อย่างเราก็คงไม่ว่างขนาดต้มกระดูกเอง ที่จะมาแนะนำคือให้ไป Villa Market แล้วซื้อคนอร์ฝรั่งมาใช้ครับ คุ้มมากๆ จำได้ว่า 80 บาท vs 10 กว่าบาท แต่ว่ารสชาตินี่แบบ ของฝรั่งมัน “meaty” แต่ของไทยแมร่ง “คัพโจ๊ก”

ต้มไปถึงไหน ทำไมมันไม่ข้น

ทีนี้มาดูจุดพลาดเรื่องความข้นบ้างครับ ว่าเราสามารถโดนหลอกได้ตอนไหนบ้าง จากที่ทำมาหลายรอบตอนนี้เริ่มชนะมันแล้ว

สตูต้องต้มไฟอ่อนข้ามวันยิ่งดี จะได้เปื่อยๆ

อันนี้คือต้องเดือดซักพักก่อนไม่งั้นมันยังไม่ถึง threshold ที่ collagen เนื้อแตกตัวเป็น gelatin ตอนแรกผมก็คิดว่ายิ่งนานยิ่งดีเหมือนกัน จาก https://www.seriouseats.com/…/science-of-stew-why-long-cook… เขาว่า 2 ชม. — 3.5 ชม.นี่โอเค มากกว่านั้นเริ่มเละไปละ แต่ก็ขึ้นกับอุณหภูมิด้วยครับ เป้าหมายคือให้ collagen แตก แต่อย่าให้เส้นใยเนื้อพังจนแห้ง หลักของสเต็กคือตอนเนื้อดิบมันเหนียวใช่มะครับ แต่ถ้า rare ระดับนึงมันจะนุ่มเฉย แต่ถ้าเผลอเลยไปอีกกลับกลายเป็นเหนียวสุก ไอ้ตรงกลางที่กินได้ไม่ดิบแต่ยังไม่เหนียวสุกนั่นแหละครับตอนที่ collagen ละลายดีแล้วแต่ใยเนื้อยังสวยงามอยู่

ต้มสตูทิ้งไว้แล้วไปเล่นเกมเหมือนต้มจืด ได้ยินเดือดๆค่อยมาคน

สตูมันอันตรายกว่าต้มจืดตรงที่ว่ามันแอบไหม้ข้างล่างได้ โดยที่ไม่มีกลิ่นกับเสียงอะไรเลย! จนกว่าเราจะลองขูดๆดูแล้วคนขึ้นมา น้ำนี่กลายเป็นมีขี้เถ้าลอยเลย แล้วก็อย่าคิดว่ามันจะเป็นไหม้อร่อยนะผมลองชิมละ มันไม่ใช่ไหม้เดียวกับตอน brown เนื้อและผัก

เมื่อไหร่มันจะข้น หรือว่าต้องใส่แป้ง

อันนี้บางทีต้มจนท้อครับว่ามันไม่ข้นซักที ซึ่งการใส่แป้งทีหลังนี้มันก็ข้นแหละแต่รสมันแป้งมากเพราะแป้งถ้าไม่เดือดมันจะมีรส starchy ครับ

มีวิธีแก้เช่นเอาแป้งไปทำให้สุกมาก่อนใส่น้ำ (อาจทำ roux คือเอาแป้งไปผัดเนยให้เป็นน้ำไหม้ๆ หรือเอาแป้งไปเคลือบเนื้อตอน brown เนื้อ)

แต่ดีสุดคือพยายามใช้มันฝรั่งที่ใส่เป็นแป้งครับ (ต่อไป)

ต้มจนน้ำจะหายหมดแล้วยังเหลวอยู่เลย ..หรือว่าต้องใส่แป้งจริงๆ

อันนี้ผมเจอเคล็ดลับคือมันต้องคน!! บางทีพอเข้า phase หลังเราจะคิดว่าโอเครอให้เปื่อยกับรอให้แป้งหรืออะไรก็ช่างในมันฝรั่งมัน “activate” (เหมือนใส่แป้งมันในราดหน้า แล้วจากน้ำโง่ๆกลายเป็นน้ำหนืดพอเลยจุดๆนึง) อันนั้นก็ความข้นจากผงแป้งทำกริยากับน้ำโดยมีความร้อนช่วยแหละครับ

แต่ลืมไปว่าความข้นไม่ได้มาจากแค่โมเลกุลเท่านั้น ยังมีความข้นแบบ “แขวนลอย” ด้วยก็คือข้นเพราะเครื่องมันเยอะ ทีนี้ พอเราไม่ได้คนมันเลยดูเหมือนน้ำยังเหลวอยู่ แต่พอคน คนแบบพยายามควักข้างล่างขึ้นมาเลยนะไม่ใช่แค่ควงๆ มันทำให้ทั้งผักทั้งมันฝรั่งทั้งเนื้อทุกอย่างที่ไม่ใช่แป้งด้วยซ้ำมัน “แขวนลอย” ขึ้นมา แล้วก็อ้าว ข้นแล้วนี่ กว่าจะรู้ตัวน้ำก็ระเหยไปแทบหมดแล้ว ถ้าคนช้าไปอาจจะต้องเติมน้ำกลับมาใหม่ซึ่งไม่ค่อยดีเพราะน้ำที่มีรสมันไปในอากาศหมดแล้วแต่น้ำหลังนี่มันน้ำเปล่า

ต่างกันไม่ถึง 5 นาทีจากเหลวกลายเป็นข้น แต่แค่ว่าไม่ได้คนดีๆเฉยๆ พอคนแล้วกลายเป็นน้ำน้อยไปเลย จริงๆต้องต้มให้เดือดน้อยกว่านี้ด้วยอันนี้มีฟองแสดงว่าเกิน 80 องศา เห็นเขาว่าเป็นเลขเทพ (คือเป็นเลข “simmer”) ถ้าน้ำหายช้ากว่านี้ จะทำให้ไปถึงเวลา 2 ชม.โดยที่ไม่ต้องเติมน้ำเปล่าได้แม่นขึ้น

*วิธีทำ gif จากวิดิโอ เพราะ Medium อัพได้แค่ gif

ffmpeg -i input.mp4 -vf scale=480:-1 -r 24 stew.gif
  • r คือไว้ลด frame rate
  • -vf = video filter
  • scale ที่เป็น -1 คือให้คง aspect เดิม เอาเลขอะไรก็ได้

รายละเอียดการ sear เนื้อเพิ่มเติม

เริ่ม sear เนื้อให้ brown เป็นแล้ว เทคนิคคือถ้าเพิ่งเอาออกมาจากช่องฟรีซ จะรักษาข้างในได้ดีครับมีความเย็นภายในเป็น buffer ไม่ให้มันสุกซะก่อนขณะที่ข้างนอกให้โดนน้ำมันจังๆได้นาน

เอาไป maillard เดี่ยวๆก่อน แล้วค่อยมาหั่น แล้วค่อยไป brown กับพวกผักอีกทีก็โอเคครับ ตอนรวมกันแล้วจะได้ใส่ซอสผัดปรุงไปด้วยกัน

กับมีอีกสายนึงไปเรียนมาจากนี่ https://www.seriouseats.com/…/the-food-lab-how-to-make-carn…

ก็คือมันมี inverse relationship ระหว่างดำอร่อยมากกับเนื้อแห้งไป ทำไงจะให้ได้ทั้งดำทั้งเนื้อยังไม่ไหม้ครับ (ในภาพนี่ก็ยังถึอว่าดำน้อยไป) การ sear แบบเปียกขึ้นก็ไม่ได้ช่วยอย่างที่เข้าใจผิดกันเพราะน้ำที่ออกมาจากเนื้อมันไม่ได้เข้าไปใหม่ง่ายๆ ออกแล้วออกเลย

เขาบอกว่าเทคนิคนั้นคือใช้น้ำมันร้อนๆเหมือนเดิมแห้งๆนี่แหละ แต่ “ห้ามใจไม่ต้องพยายาม brown ให้หมดทุกด้าน!” หลังจากวางลงไปบนกะทะร้อนแล้วถึงมันจะร้องให้พลิกแค่ไหนก็อย่าไปพลิกครับ ความดำก็ออกไปสู่ซุปด้วย ไอน้ำก็น้อยลงด้วยเพราะไม่ได้ขยับมัน ถึงจะดำด้านเดียวก็เหอะแต่ถ้าอยากได้ texture เนื้อดีกว่าคงต้องแบบนี้ครับ

Variation ของ soup base ที่ทดลองได้ต่อ

ยังมีหลายๆสูตรที่ผมไปเจอมาที่เปลี่ยน soup base ครับ

ไม่ได้ใช้แค่ซุปก้อนคนอร์ฝรั่ง เท่านั้นแต่ว่าใส่ของเหลวอื่นๆด้วย ที่เตะตาก็คือใส่ไวน์แดง กับใส่เบียร์ แล้วก็ใส่ซอสไก่งวงก็เห็นหลายสูตรครับ (ซอสเปรี้ยวดำๆใส่สเต็กอะ Worcestershire sauce) แล้วยังมี challenge อื่นๆให้ท้าทายเช่นพยายามทำ broth เองดูที่ยังไม่ได้ลอง (ก็คือหากระดูกกับผักสมุนไพรต่างๆมาต้มเอง ต่อไปกิน KFC จะเก็บกระดูกมาลอง..)

ผมลองไปซื้อเบียร์มาใส่ดู เพราะไวน์แดง (เอาของจริงนะไม่เอา cooler) มันขวดเริ่มต้นก็ 300 แล้วแถมไม่มีเล็กๆ ส่วนเบียร์ที่รสเข้ากับอาหารให้เลือก stout beer นะครับ ก็คือเอาดำๆ (lager จะใสสุด แล้วก็ IPA แล้วก็มีเรียงขั้นดำขึ้นจน stout) ส่วนมากมันจะดูไม่ออกเพราะขวดก็ดำ เพราะงั้นดูฉลากดีกว่าครับ เดี๋ยวเบียร์หมดต่อไปจะลองไวน์

ส่วนวิธีใส่จะรินตอนท้ายก็โอเคนะแต่ใส่ตอน brown เนื้อกับผักรวมกันก่อนเทน้ำซุปดีกว่า พลังแอลกอฮอลจะได้ผัดเข้าไปหอมอยู่ในผักกับเนื้อครับ แล้วก็ระวังอย่าเพิ่งกินเบียร์! (ตอนทำนี่ชิมจนเริ่มรู้สึก หัวหน่วงๆ 555) อีกเทคนิคคือขั้นตอนคนเพื่อกันไหม้นี่เอาเกมมายืนทำข้างๆก็ได้ ซัก 20 บรรทัดคนทีนึง

ปรากฏว่าอร่อยดีครับ ความขมที่ออกมาตอนท้ายนี่ ทำให้สตูหมูรสหรูผู้ใหญ่ขึ้น เข้าใกล้เนื้อเลยก็ว่าได้

กินจนเอียนแล้ว

ช่วงที่ทดลองทำนี่กินสตูทั้งสัปดาห์ติดต่อกัน 3–4 หม้อเลย นอกจากจะกินกับข้าวแล้วไปซื้อ indomie มาม่าแห้งที่ห่อละ 15–20 บาทนั่นมาลองใส่กับไข่ดู เข้ากันมากๆครับ (มากกว่าใส่มาม่าน้ำ) แล้วก็ฝรั่งเขาเอาขนมปังมากินกับสตูด้วยนะ คงต้องเป็นขนมปังกรอบๆแข็งๆแบบขนมปังฝรั่งเศสถึงจะเข้ากัน